การประเมินหลักสูตร หากปีการศึกษา 2557 ไม่ได้เปิดรับนักศึกษา แต่มีนักศึกษาค้าง 3 ปี ไม่ทราบว่าหลักสูตรนั้นจะต้องได้รับการประเมินภายในปีการศึกษา 2557 หรือไม่
คำตอบ ต้องประเมินจนกว่านักศึกษาคนสุดท้ายของหลักสูตรจบ
คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน ในกรณีที่เป็นอาจารย์พิเศษในระดับปริญญาโท มีวุฒิปริญญาโทแต่ไม่ได้จบในสาขาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร แต่เป็นผู้ที่มีประสบการณ์และเป็นที่ยอมรับในระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร และไม่มีงานวิจัยจะสามารถเป็นอาจารย์พิเศษได้หรือไม่
คำตอบ มาสอนบางคาบได้ โดยมีอาจารย์ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์เป็นอาจารย์ประจำวิชา หากจะให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่ระบุมาสอนทั้งวิชา ต้องขออนุมัติสภาให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะและแจ้ง สกอ. ตามแนวทางบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2548 ข้อ 7.6
หากหลักสูตรมีอาจารย์ที่จบปริญญาโทคุมการทำสารนิพนธ์ ในปี 2556-2557 หมายความว่าไม่ผ่านการประเมินใช่หรือไม่
คำตอบ ใช่ ตามหลักเกณฑ์อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์และต้องมีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
ผลการประเมินมีผลต่อการดำเนินงานของหลักสูตรอย่างไรบ้าง
คำตอบ (ยังไม่มีมติชัดเจนในเรื่องนี้)
หลักสูตรสามารถตั้งเกณฑ์เพื่อให้นักศึกษาจบการศึกษา เช่น หากไม่ขอสอบโครงร่างสารนิพนธ์ภายใน 5 ภาคการศึกษาไม่มีสิทธิ์เรียนต่อได้หรือไม่
คำตอบ ได้ ทั้งนี้ต้องเขียนให้ชัดเจนใน มคอ. 2
รบกวนอาจารย์กรุณาอธิบายแนวปฏิบัติ การเทียบเคียง ตัวบ่งชี้ กระบวนการกับหลักสูตรเดียวกันในกลุ่มสถาบันเดียวกันที่เหมาะสม (ม.อ. เป็นกลุ่ม ง)
คำตอบ การเทียบเคียงก็จะเป็นเทียบเคียงหลักสูตรในสาขาวิชาเดียวกัน เช่น การรับนักศึกษาก็จะเปรียบเทียบ คุณสมบัติของผู้สมัคร กระบวนการคัดเลือก และอัตราการคัดเลือก (สมัครกี่คนรับกี่คน) เป็นต้น
ต้องเทียบเคียงหลักสูตรของเรากับมหาวิทยาลัยอื่นกี่มหาวิทยาลัย ในตัวบ่งชี้ที่เป็นกระบวนการ
คำตอบ จะเลือกคู่เทียบที่เป็นที่ทราบกันว่าเด่นมาก ถือว่าเป็น best practice ก็เพียงแห่งเดียว หากไม่ชัดเจน ก็คงเลือกที่พอๆกันสัก 2-3 แห่ง ให้เชื่อมั่นว่ากระบวนการของเราดีกว่าหลักสูตรในระดับเดียวกัน
ตัวบ่งชี้ระดับหลักสูตร คำว่า “อาจารย์” เช่นการบริหารและพัฒนาอาจารย์ ประเมินเฉพาะอาจารย์ประจำหลักสูตร อย่างเดียวหรือไม่
คำตอบ ใช่
ทุกตัวบ่งชี้ต้องประเมินทุกระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกหรือไม่
คำตอบ ใช่ บางตัวบ่งชี้มีเกณฑ์การประเมินในแต่ละระดับต่างกัน เช่น จำนวนอาจารย์ปริญญาเอก และตำแหน่งทางวิชาการ (หากไม่ได้ระบุระดับก็ต้องประเมินทุกระดับ แต่หากเฉพาะระดับจะระบุไว้ เช่น ประเด็นการบูรณาการพันธกิจต่างๆกับการเรียนการสอนเฉพาะปริญญาตรี)
ในการเทียบเคียง ต้องการหลักฐานมากเพียงใด เช่นโทรไปสอบถามได้ไหมหรือต้องขอหลักฐานจากมหาวิทยาลัยที่ต้องการเทียบเคียงแค่ไหนถึงจะเป็นที่ยอมรับ
คำตอบ ตอบชัดเจนไม่ได้ การขอหลักฐานเขาอาจไม่ให้ เป็นไปได้ที่จะได้ข้อมูลจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่สถาบันที่เทียบเคียง หลักฐานอะไรก็ได้ที่ช่วยให้กรรมการประเมินพิจารณาง่ายขึ้น กรรมการจะอยู่ในสาขาวิชานั้นๆก็มีข้อมูลอยู่บ้างว่าสถาบันใดมีคุณภาพอย่างไร
การรายงานในระดับหลักสูตร จะรายงานได้ต่อเมื่อหลักสูตรมีนักศึกษา หรือต้องให้นักศึกษาจบหลักสูตรนั้นก่อน
คำตอบ รายงานเมื่อหลักสูตรได้รับการอนุมัติจากสภาให้เปิดรับนักศึกษา (และรายงานเฉพาะหัวข้อหรือประเด็นที่เกี่ยวข้อง / ที่มีข้อมูล / ที่ปฏิบัติ)
คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน/อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ในส่วนของผลงานวิจัยสามารถนับรวม proceeding ได้หรือไม่
คำตอบ ในคู่มือหน้า 22 ไม่ได้ระบุว่าเป็น proceedings (กำลังตรวจสอบให้ชัดเจน)
กรณีที่เปิดหลักสูตร แต่ไม่มีนักศึกษาต้องประเมินหรือไม่ และถ้าไม่มีนักศึกษาตั้งแต่เปิดหลักสูตรต่อเนื่องกี่ปีถึงจะปิดหลักสูตรได้
คำตอบ ทุกหลักสูตรที่เปิดสอนต้องประเมินแม้ไม่มีนักศึกษา สำหรับหลักเกณฑ์การปิดหลักสูตรมหาวิทยาลัยกำหนดไว้แล้ว
ถ้าต้องการปิดหลักสูตร ต้องดำเนินการอย่างไร
คำตอบ สอบถามได้ที่งานหลักสูตร กองบริการการศึกษา
หน้า 93 เกณฑ์ข้อ 6 ถ้าคณะมีส่วนร่วมในการบริการแก่สังคมกับวิทยาเขตได้หรือไม่ หรือต้องมีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว
คำตอบ ได้ เพราะนโยบายบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย วิทยาเขตต้องขับเคลื่อนอยู่แล้ว
การกำหนดคุณภาพผลงานทางวิชาการจะกำหนดเป็นผลงานที่ได้รับการจดอนุสิทธิบัตร ซึ่งจะใช้ได้กับกลุ่มวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ส่วนอาจารย์ที่อยู่ในกลุ่มมนุษยศาสตร์ได้เขียนหนังสือจนได้รับ ISBN สามารถนำไปนับคะแนนตรงไหนได้บ้าง
คำตอบ หนังสือนับได้เฉพาะที่ต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีรายชื่อใน สกอ. เท่านั้น
การประกันคุณภาพการศึกษา มีทำในสถาบันยังต้องทำในระดับภาควิชาไหมคะ
คำตอบ แล้วแต่มหาวิทยาลัย สกอ.กำหนดแต่ระดับหลักสูตร คณะและสถาบัน
จำนวนบทความของอาจารย์ที่ได้รับการอ้างอิง นับการอ้างอิงในฐานข้อมูล TCI และ scopus เท่านั้นหรือ อ้างอิงใน ISI ได้หรือไม่
คำตอบ ถ้าอ้างอิงใน ISI ก็จะมีอยู่ใน scopus อยู่แล้ว
ผลงานอาจารย์ที่เป็นสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร ต้องเป็นผลงานที่จดในปีที่ประเมินหรือไม่ ถ้าเป็นผลงานเดิมที่ยังคุ้มครองอยู่ที่ยังไม่ Expire นำมานับเป็นตัวตั้งได้หรือไม่คะ
คำตอบ ต้องเป็นผลงานที่ต้องจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร ในปีที่ประเมินเท่านั้น ผลงานเดิมที่อยู่ในความคุ้มครองนับไม่ได้
การนับแขนงวิชาที่ต้องมีอาจารย์ประจำ 3 ท่าน/แขนงวิชาชีพ จะต้องมีหน่วยกิตเท่าไหร่จึงจะเป็นแขนงวิชาชีพ วิชาบังคับเรียน วิชาใดๆจำนวน 15 หน่วยกิตถือเป็นแขนงวิชาชีพที่ต้องมีอาจารย์ในแขนงนั้น 3 ท่านหรือไม่
คำตอบ ตั้งแต่ 30 หน่วยกิตขึ้นไป
การ benchmark สามารถทำกับหลักสูตรต่างคณะในมหาวิทยาลัยเดียวกันได้ไหม
คำตอบ ไม่ได้
หลักสูตร มี 2 แขนงวิชา ต้องประเมิน 1 หลักสูตรหรือตามแขนงวิชาของหลักสูตร
คำตอบ การประเมินว่ามีหลักสูตรเท่าใด พิจารณาจากเล่มของหลักสูตร
เนื่องจากอาจารย์ที่ต้องมารับผิดชอบเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรต้องมีภาระรับผิดชอบในการประเมินหลักสูตร และจัดทำเอกสารการประเมินอาจส่งผลให้ไม่มีใครอยากเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรด้วยความสมัครใจ ไม่ทราบว่ามีแนวทางจัดการอย่างไรบ้าง
คำตอบ มหาวิทยาลัยควรมีระบบจูงใจ เช่น การจ่ายค่าตอบแทน หรือการลดภาระงานด้านอื่น เป็นต้น
การนับจำนวนอาจารย์ประจำ นับ 9-12 เดือน คิดเป็น 1 คนแต่บางครั้งมีอาจารย์เกษียณหรือลาออกในช่วงนั้นทำให้ไม่ครบ 12 เดือน ถือว่าไม่ครบใช่ไหม
คำตอบ ใช่ กรณีที่มีการเคลื่อนย้ายอาจารย์ อาจารย์ต้องอยู่ประจำไม่น้อยกว่า 9 เดือน
อาจารย์ที่เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรทั้งปริญญาโท และ ปริญญาเอก นับผลงานอย่างไรคะ
คำตอบ นับผลงานทั้งหลักสูตรปริญญาโท และ ปริญญาเอก
ในกรณีที่มีอาจารย์ประจำหลักสูตร ที่ไม่ครบหลักสูตรและเป็นวิชาชีพด้วย เนื่องจากไปเรียนต่อ คณะต้องดำเนินการอย่างไรอย่างเร่งด่วนและมีนักศึกษาจำนวนมาก
คำตอบ จัดการให้อาจารย์ครบตามเกณฑ์
การจัดบริการวิชาการที่ต้องบูรณาการกับการเรียนการสอน ตามเกณฑ์ประเมินเดิมไม่ต้องพิจารณาในประเด็นนี้แล้วใช่ไหมคะ
คำตอบ มีอยู่ในการประเมินระดับหลักสูตร ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 มีประเด็นการบูรณาการ (คู่มือหน้า 67) ในระดับคณะไม่มีโดยตรงแต่อาจใช้ตอบในตัวบ่งชี้ที่ 3.1 เกณฑ์ข้อ 2 คือการใช้ประโยชน์กับนักศึกษา ส่วนระดับสถาบันไม่มี
การบริการวิชาการในระดับคณะ ให้คณะจัดโครงการบริการวิชาการแก่สังคม โดยสามารถดึงอาจารย์จากภาควิชาต่างๆมาร่วมเป็นแนวทางที่ถูกต้องหรือไม่
คำตอบ ใช่ อาจารย์ของคณะสังกัดที่ภาควิชา
อาจารย์ประจำหลักสูตรนับเป็นส่วนหนึ่งของอาจารย์ประจำคณะหรือไม่
คำตอบ ใช่ ในการประเมินระดับคณะ อาจารย์ประจำหลักสูตรก็มานับอีกครั้งในระดับคณะ
กรณีลาศึกษาต่อ ต้องหาคนมาแทนมีปัญหาเรื่องอัตรากำลัง สกอ.ได้คำนึงถึงและแจ้งให้สถาบันทราบ/เพื่อดำเนินการรองรับ/เป็นแนวทางปฏิบัติแก่คณะหรือไม่ (เมื่อคนเดิมกลับมาคนที่มาทดแทนต้องสูญเสียอัตราไป/ตกงานหรือไม่)
คำตอบ เป็นเรื่องระเบียบบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยและระบบราชการ (การทดแทนขึ้นอยู่กับเป็นอัตราประจำหรืออัตราจ้างชั่วคราว หากจำเป็นอัตราประจำจะเลิกไปได้อย่างไร)
เริ่มประเมินหลักสูตรรอบไหน/ปีงบประมาณ/ปีการศึกษาใด
คำตอบ เริ่มปีการศึกษา 2557 เป็นการประเมินโดยกรรมการประเมินภายในมหาวิทยาลัย
ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ จำนวนสิ่งที่สนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการเรียนการสอนนับอย่างไร
คำตอบ น่าจะพิจารณาจากผลการประเมินความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้โดยนักศึกษา (และอาจารย์ประจำหลักสูตรสามารถให้ความเห็นในเรื่องนี้โดยเปรียบเทียบจำนวนนักศึกษากับจำนวนอุปกรณ์การเรียนหรือสิ่งสนับสนุนว่าเหมาะสมหรือไม่ เป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอนหรือไม่)
คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ที่กำหนดไว้ว่าต้องมีผลงานที่ตีพิมพ์ ถ้าเป็นอาจารย์ใหม่ที่ยังไม่มีผลงานตีพิมพ์ สามารถเป็นได้ไหม จะได้รับการยกเว้นกรณีเดียวกับอาจารย์ผู้สอบหรือไม่ ที่เว้น 2 ปีได้
คำตอบ ไม่ได้ (ในคำถามผู้สอบต้องเป็น ผู้สอน)
การจัดประชุมวิชาการระดับชาติ ต้องมีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมินบทความ อยากทราบว่าผู้เชี่ยวชาญวัดอย่างไร และต้องมาจากสถาบันภายในหรือภายนอกสถาบันเจ้าภาพ
คำตอบ การจัดประชุมวิชาการระดับชาติ ต้องมีกองบรรณาธิการจัดทำรายงานการประชุม หรือ คณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วยศาสตราจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขานั้นๆจากนอกสถาบันเจ้าภาพร้อยละ25 ต้องมีผู้ประเมินบทความเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขา มีบทความจากภายนอกอย่างน้อย 3 สถาบันรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
หลักสูตรเป็น วท.ม.เคมี แต่หลักสูตรมี 3 แขนงวิชา แต่ในหลักสูตรและใบปริญญาไม่มีวงเล็บแขนงวิชาไว้ ดังนั้นหลักสูตรนี้จะต้องมีอาจารย์ประเมิน 5 คน หรือ 9 คน
คำตอบ หากในแขนงวิชาที่เรียน 30 หน่วยกิตขึ้นไป จะต้องมีอาจารย์ประจำ 3 คน ถ้าแขนงที่ระบุมา 3 แขนง แต่ละแขนงมี 30 หน่วยกิตขึ้นไป ก็ต้องมีอาจารย์ประจำหลักสูตร 9 คน
เรื่อง เกณฑ์การประเมินของหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตขั้นสูง ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก เป็นหลักสูตร 1 ปีไม่มีวิทยานิพนธ์ จะต้องทำการประเมินหรือไม่คะ เกณฑ์จะมีเฉพาะ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
คำตอบ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตขั้นสูงต้องประเมินโดยใช้เกณฑ์ปริญญาเอก ส่วนประกาศนียบัตรบัณฑิตใช้เกณฑ์ปริญญาโท
การประเมินหลักสูตร การคิดคำนวณผลงานวิชาการต่างๆ คำนวณเฉพาะอาจารย์ประจำหลักสูตร ทั้ง 5 คนหรือไม่ แล้วอาจารย์ผู้สอนท่านอื่นๆจะไปนับผลงานที่ไหน
คำตอบ ใช่ ส่วนอาจารย์ผู้สอนท่านอื่นนับผลงานในระดับคณะ
การประเมินหลักสูตร ไม่ได้ประเมินเรื่องบริการวิชาการ ดังนั้นแสดงว่าหลักสูตรไม่ต้องคำนึงถึงการจัดโครงการบริการใช่หรือไม่ (เป็นงานในระดับคณะ)
คำตอบ ใช่ เพราะถ้าประเมินบริการวิชาการหลักสูตรจะหนักมากเกินไป แต่อาจารย์ประจำหลักสูตรก็สามารถให้บริการวิชาการได้ โดยผลงานจะไปนำเสนอในระดับคณะ (ในหลักสูตรมีเรื่องบูรณาการพันธกิจอื่นกับการเรียนการสอน ซึ่งหมายถึง บูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนด้วย อยู่ในตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ซึ่งควรเชื่อมกับระดับคณะ ตัวบ่งชี้ 3.1 เกณฑ์ข้อ 2 (ประโยชน์กับนักศึกษา)
.ในการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาใช้แบบสอบถามให้นักศึกษาประเมินตนเองได้หรือไม่ โดยนำข้อคำถามมาจากผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ใน มคอ.3 ทั้ง 5 ด้าน
คำตอบ ก็เป็นวิธีหนึ่ง ข้อควรระวังก็คือนักศึกษาประเมินตนเองจะเป็นความเห็น / ความรู้สึก แต่อาจไม่ได้เรียนรู้จริง
ตัวบ่งชี้นี้ ไม่จำเป็นต้องมีผลงานทางวิชาการจากคณะ/หน่วยงาน ในทุกรูปแบบใช่หรือไม่ อาจมีเพียงผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับต่าง ๆ เนื่องจากผลงานทางวิชาการรับใช้สังคมที่ผ่านการประเมินตำแหน่งทางวิชาการแล้ว จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ของงานบริหารงานบุคคล กองการเจ้าหน้าที่ ใน ม.อ. (ประมาณ 1 ปี แล้ว และเมื่อ 14/01/2558) ได้ความว่า
ยังไม่มีนักวิจัยคนใดได้ตำแหน่งทางวิชาการโดยใช้ผลงานทางวิชาการรับใช้สังคมเลย
คำตอบ ไม่จำเป็นต้องมีทุกรูปแบบ
นโยบาย/ทิศทางของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมให้นักวิจัยทำผลงานทางวิชาการรับใช้สังคม ที่ชัดเจนเป็นอย่างไร ผู้บริหารจะหารือกันแบบบูรณาการหรือไม่ (ผู้บริหารทุกส่วนทั้ง QA การศึกษา วิจัย และ บริการวิชาการ เป็นต้น) เพื่อแจ้งแนวทางต่อประชาคม ม.อ.
คำตอบ รองอธิการบดี/หน่วยงานที่รับผิดชอบ เรื่อง การพัฒนาอาจารย์ให้ได้ตำแหน่งทางวิชาการ น่าจะเป็นต้นเรื่องในการพิจารณาขับเคลื่อนประเด็นนี้
คำตอบ ต้องประเมินจนกว่านักศึกษาคนสุดท้ายของหลักสูตรจบ
คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน ในกรณีที่เป็นอาจารย์พิเศษในระดับปริญญาโท มีวุฒิปริญญาโทแต่ไม่ได้จบในสาขาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร แต่เป็นผู้ที่มีประสบการณ์และเป็นที่ยอมรับในระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร และไม่มีงานวิจัยจะสามารถเป็นอาจารย์พิเศษได้หรือไม่
คำตอบ มาสอนบางคาบได้ โดยมีอาจารย์ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์เป็นอาจารย์ประจำวิชา หากจะให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่ระบุมาสอนทั้งวิชา ต้องขออนุมัติสภาให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะและแจ้ง สกอ. ตามแนวทางบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2548 ข้อ 7.6
หากหลักสูตรมีอาจารย์ที่จบปริญญาโทคุมการทำสารนิพนธ์ ในปี 2556-2557 หมายความว่าไม่ผ่านการประเมินใช่หรือไม่
คำตอบ ใช่ ตามหลักเกณฑ์อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์และต้องมีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
ผลการประเมินมีผลต่อการดำเนินงานของหลักสูตรอย่างไรบ้าง
คำตอบ (ยังไม่มีมติชัดเจนในเรื่องนี้)
หลักสูตรสามารถตั้งเกณฑ์เพื่อให้นักศึกษาจบการศึกษา เช่น หากไม่ขอสอบโครงร่างสารนิพนธ์ภายใน 5 ภาคการศึกษาไม่มีสิทธิ์เรียนต่อได้หรือไม่
คำตอบ ได้ ทั้งนี้ต้องเขียนให้ชัดเจนใน มคอ. 2
รบกวนอาจารย์กรุณาอธิบายแนวปฏิบัติ การเทียบเคียง ตัวบ่งชี้ กระบวนการกับหลักสูตรเดียวกันในกลุ่มสถาบันเดียวกันที่เหมาะสม (ม.อ. เป็นกลุ่ม ง)
คำตอบ การเทียบเคียงก็จะเป็นเทียบเคียงหลักสูตรในสาขาวิชาเดียวกัน เช่น การรับนักศึกษาก็จะเปรียบเทียบ คุณสมบัติของผู้สมัคร กระบวนการคัดเลือก และอัตราการคัดเลือก (สมัครกี่คนรับกี่คน) เป็นต้น
ต้องเทียบเคียงหลักสูตรของเรากับมหาวิทยาลัยอื่นกี่มหาวิทยาลัย ในตัวบ่งชี้ที่เป็นกระบวนการ
คำตอบ จะเลือกคู่เทียบที่เป็นที่ทราบกันว่าเด่นมาก ถือว่าเป็น best practice ก็เพียงแห่งเดียว หากไม่ชัดเจน ก็คงเลือกที่พอๆกันสัก 2-3 แห่ง ให้เชื่อมั่นว่ากระบวนการของเราดีกว่าหลักสูตรในระดับเดียวกัน
ตัวบ่งชี้ระดับหลักสูตร คำว่า “อาจารย์” เช่นการบริหารและพัฒนาอาจารย์ ประเมินเฉพาะอาจารย์ประจำหลักสูตร อย่างเดียวหรือไม่
คำตอบ ใช่
ทุกตัวบ่งชี้ต้องประเมินทุกระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกหรือไม่
คำตอบ ใช่ บางตัวบ่งชี้มีเกณฑ์การประเมินในแต่ละระดับต่างกัน เช่น จำนวนอาจารย์ปริญญาเอก และตำแหน่งทางวิชาการ (หากไม่ได้ระบุระดับก็ต้องประเมินทุกระดับ แต่หากเฉพาะระดับจะระบุไว้ เช่น ประเด็นการบูรณาการพันธกิจต่างๆกับการเรียนการสอนเฉพาะปริญญาตรี)
ในการเทียบเคียง ต้องการหลักฐานมากเพียงใด เช่นโทรไปสอบถามได้ไหมหรือต้องขอหลักฐานจากมหาวิทยาลัยที่ต้องการเทียบเคียงแค่ไหนถึงจะเป็นที่ยอมรับ
คำตอบ ตอบชัดเจนไม่ได้ การขอหลักฐานเขาอาจไม่ให้ เป็นไปได้ที่จะได้ข้อมูลจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่สถาบันที่เทียบเคียง หลักฐานอะไรก็ได้ที่ช่วยให้กรรมการประเมินพิจารณาง่ายขึ้น กรรมการจะอยู่ในสาขาวิชานั้นๆก็มีข้อมูลอยู่บ้างว่าสถาบันใดมีคุณภาพอย่างไร
การรายงานในระดับหลักสูตร จะรายงานได้ต่อเมื่อหลักสูตรมีนักศึกษา หรือต้องให้นักศึกษาจบหลักสูตรนั้นก่อน
คำตอบ รายงานเมื่อหลักสูตรได้รับการอนุมัติจากสภาให้เปิดรับนักศึกษา (และรายงานเฉพาะหัวข้อหรือประเด็นที่เกี่ยวข้อง / ที่มีข้อมูล / ที่ปฏิบัติ)
คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน/อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ในส่วนของผลงานวิจัยสามารถนับรวม proceeding ได้หรือไม่
คำตอบ ในคู่มือหน้า 22 ไม่ได้ระบุว่าเป็น proceedings (กำลังตรวจสอบให้ชัดเจน)
กรณีที่เปิดหลักสูตร แต่ไม่มีนักศึกษาต้องประเมินหรือไม่ และถ้าไม่มีนักศึกษาตั้งแต่เปิดหลักสูตรต่อเนื่องกี่ปีถึงจะปิดหลักสูตรได้
คำตอบ ทุกหลักสูตรที่เปิดสอนต้องประเมินแม้ไม่มีนักศึกษา สำหรับหลักเกณฑ์การปิดหลักสูตรมหาวิทยาลัยกำหนดไว้แล้ว
ถ้าต้องการปิดหลักสูตร ต้องดำเนินการอย่างไร
คำตอบ สอบถามได้ที่งานหลักสูตร กองบริการการศึกษา
หน้า 93 เกณฑ์ข้อ 6 ถ้าคณะมีส่วนร่วมในการบริการแก่สังคมกับวิทยาเขตได้หรือไม่ หรือต้องมีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว
คำตอบ ได้ เพราะนโยบายบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย วิทยาเขตต้องขับเคลื่อนอยู่แล้ว
การกำหนดคุณภาพผลงานทางวิชาการจะกำหนดเป็นผลงานที่ได้รับการจดอนุสิทธิบัตร ซึ่งจะใช้ได้กับกลุ่มวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ส่วนอาจารย์ที่อยู่ในกลุ่มมนุษยศาสตร์ได้เขียนหนังสือจนได้รับ ISBN สามารถนำไปนับคะแนนตรงไหนได้บ้าง
คำตอบ หนังสือนับได้เฉพาะที่ต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีรายชื่อใน สกอ. เท่านั้น
การประกันคุณภาพการศึกษา มีทำในสถาบันยังต้องทำในระดับภาควิชาไหมคะ
คำตอบ แล้วแต่มหาวิทยาลัย สกอ.กำหนดแต่ระดับหลักสูตร คณะและสถาบัน
จำนวนบทความของอาจารย์ที่ได้รับการอ้างอิง นับการอ้างอิงในฐานข้อมูล TCI และ scopus เท่านั้นหรือ อ้างอิงใน ISI ได้หรือไม่
คำตอบ ถ้าอ้างอิงใน ISI ก็จะมีอยู่ใน scopus อยู่แล้ว
ผลงานอาจารย์ที่เป็นสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร ต้องเป็นผลงานที่จดในปีที่ประเมินหรือไม่ ถ้าเป็นผลงานเดิมที่ยังคุ้มครองอยู่ที่ยังไม่ Expire นำมานับเป็นตัวตั้งได้หรือไม่คะ
คำตอบ ต้องเป็นผลงานที่ต้องจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร ในปีที่ประเมินเท่านั้น ผลงานเดิมที่อยู่ในความคุ้มครองนับไม่ได้
การนับแขนงวิชาที่ต้องมีอาจารย์ประจำ 3 ท่าน/แขนงวิชาชีพ จะต้องมีหน่วยกิตเท่าไหร่จึงจะเป็นแขนงวิชาชีพ วิชาบังคับเรียน วิชาใดๆจำนวน 15 หน่วยกิตถือเป็นแขนงวิชาชีพที่ต้องมีอาจารย์ในแขนงนั้น 3 ท่านหรือไม่
คำตอบ ตั้งแต่ 30 หน่วยกิตขึ้นไป
การ benchmark สามารถทำกับหลักสูตรต่างคณะในมหาวิทยาลัยเดียวกันได้ไหม
คำตอบ ไม่ได้
หลักสูตร มี 2 แขนงวิชา ต้องประเมิน 1 หลักสูตรหรือตามแขนงวิชาของหลักสูตร
คำตอบ การประเมินว่ามีหลักสูตรเท่าใด พิจารณาจากเล่มของหลักสูตร
เนื่องจากอาจารย์ที่ต้องมารับผิดชอบเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรต้องมีภาระรับผิดชอบในการประเมินหลักสูตร และจัดทำเอกสารการประเมินอาจส่งผลให้ไม่มีใครอยากเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรด้วยความสมัครใจ ไม่ทราบว่ามีแนวทางจัดการอย่างไรบ้าง
คำตอบ มหาวิทยาลัยควรมีระบบจูงใจ เช่น การจ่ายค่าตอบแทน หรือการลดภาระงานด้านอื่น เป็นต้น
การนับจำนวนอาจารย์ประจำ นับ 9-12 เดือน คิดเป็น 1 คนแต่บางครั้งมีอาจารย์เกษียณหรือลาออกในช่วงนั้นทำให้ไม่ครบ 12 เดือน ถือว่าไม่ครบใช่ไหม
คำตอบ ใช่ กรณีที่มีการเคลื่อนย้ายอาจารย์ อาจารย์ต้องอยู่ประจำไม่น้อยกว่า 9 เดือน
อาจารย์ที่เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรทั้งปริญญาโท และ ปริญญาเอก นับผลงานอย่างไรคะ
คำตอบ นับผลงานทั้งหลักสูตรปริญญาโท และ ปริญญาเอก
ในกรณีที่มีอาจารย์ประจำหลักสูตร ที่ไม่ครบหลักสูตรและเป็นวิชาชีพด้วย เนื่องจากไปเรียนต่อ คณะต้องดำเนินการอย่างไรอย่างเร่งด่วนและมีนักศึกษาจำนวนมาก
คำตอบ จัดการให้อาจารย์ครบตามเกณฑ์
การจัดบริการวิชาการที่ต้องบูรณาการกับการเรียนการสอน ตามเกณฑ์ประเมินเดิมไม่ต้องพิจารณาในประเด็นนี้แล้วใช่ไหมคะ
คำตอบ มีอยู่ในการประเมินระดับหลักสูตร ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 มีประเด็นการบูรณาการ (คู่มือหน้า 67) ในระดับคณะไม่มีโดยตรงแต่อาจใช้ตอบในตัวบ่งชี้ที่ 3.1 เกณฑ์ข้อ 2 คือการใช้ประโยชน์กับนักศึกษา ส่วนระดับสถาบันไม่มี
การบริการวิชาการในระดับคณะ ให้คณะจัดโครงการบริการวิชาการแก่สังคม โดยสามารถดึงอาจารย์จากภาควิชาต่างๆมาร่วมเป็นแนวทางที่ถูกต้องหรือไม่
คำตอบ ใช่ อาจารย์ของคณะสังกัดที่ภาควิชา
อาจารย์ประจำหลักสูตรนับเป็นส่วนหนึ่งของอาจารย์ประจำคณะหรือไม่
คำตอบ ใช่ ในการประเมินระดับคณะ อาจารย์ประจำหลักสูตรก็มานับอีกครั้งในระดับคณะ
กรณีลาศึกษาต่อ ต้องหาคนมาแทนมีปัญหาเรื่องอัตรากำลัง สกอ.ได้คำนึงถึงและแจ้งให้สถาบันทราบ/เพื่อดำเนินการรองรับ/เป็นแนวทางปฏิบัติแก่คณะหรือไม่ (เมื่อคนเดิมกลับมาคนที่มาทดแทนต้องสูญเสียอัตราไป/ตกงานหรือไม่)
คำตอบ เป็นเรื่องระเบียบบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยและระบบราชการ (การทดแทนขึ้นอยู่กับเป็นอัตราประจำหรืออัตราจ้างชั่วคราว หากจำเป็นอัตราประจำจะเลิกไปได้อย่างไร)
เริ่มประเมินหลักสูตรรอบไหน/ปีงบประมาณ/ปีการศึกษาใด
คำตอบ เริ่มปีการศึกษา 2557 เป็นการประเมินโดยกรรมการประเมินภายในมหาวิทยาลัย
ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ จำนวนสิ่งที่สนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการเรียนการสอนนับอย่างไร
คำตอบ น่าจะพิจารณาจากผลการประเมินความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้โดยนักศึกษา (และอาจารย์ประจำหลักสูตรสามารถให้ความเห็นในเรื่องนี้โดยเปรียบเทียบจำนวนนักศึกษากับจำนวนอุปกรณ์การเรียนหรือสิ่งสนับสนุนว่าเหมาะสมหรือไม่ เป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอนหรือไม่)
คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ที่กำหนดไว้ว่าต้องมีผลงานที่ตีพิมพ์ ถ้าเป็นอาจารย์ใหม่ที่ยังไม่มีผลงานตีพิมพ์ สามารถเป็นได้ไหม จะได้รับการยกเว้นกรณีเดียวกับอาจารย์ผู้สอบหรือไม่ ที่เว้น 2 ปีได้
คำตอบ ไม่ได้ (ในคำถามผู้สอบต้องเป็น ผู้สอน)
การจัดประชุมวิชาการระดับชาติ ต้องมีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมินบทความ อยากทราบว่าผู้เชี่ยวชาญวัดอย่างไร และต้องมาจากสถาบันภายในหรือภายนอกสถาบันเจ้าภาพ
คำตอบ การจัดประชุมวิชาการระดับชาติ ต้องมีกองบรรณาธิการจัดทำรายงานการประชุม หรือ คณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วยศาสตราจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขานั้นๆจากนอกสถาบันเจ้าภาพร้อยละ25 ต้องมีผู้ประเมินบทความเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขา มีบทความจากภายนอกอย่างน้อย 3 สถาบันรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
หลักสูตรเป็น วท.ม.เคมี แต่หลักสูตรมี 3 แขนงวิชา แต่ในหลักสูตรและใบปริญญาไม่มีวงเล็บแขนงวิชาไว้ ดังนั้นหลักสูตรนี้จะต้องมีอาจารย์ประเมิน 5 คน หรือ 9 คน
คำตอบ หากในแขนงวิชาที่เรียน 30 หน่วยกิตขึ้นไป จะต้องมีอาจารย์ประจำ 3 คน ถ้าแขนงที่ระบุมา 3 แขนง แต่ละแขนงมี 30 หน่วยกิตขึ้นไป ก็ต้องมีอาจารย์ประจำหลักสูตร 9 คน
เรื่อง เกณฑ์การประเมินของหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตขั้นสูง ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก เป็นหลักสูตร 1 ปีไม่มีวิทยานิพนธ์ จะต้องทำการประเมินหรือไม่คะ เกณฑ์จะมีเฉพาะ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
คำตอบ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตขั้นสูงต้องประเมินโดยใช้เกณฑ์ปริญญาเอก ส่วนประกาศนียบัตรบัณฑิตใช้เกณฑ์ปริญญาโท
การประเมินหลักสูตร การคิดคำนวณผลงานวิชาการต่างๆ คำนวณเฉพาะอาจารย์ประจำหลักสูตร ทั้ง 5 คนหรือไม่ แล้วอาจารย์ผู้สอนท่านอื่นๆจะไปนับผลงานที่ไหน
คำตอบ ใช่ ส่วนอาจารย์ผู้สอนท่านอื่นนับผลงานในระดับคณะ
การประเมินหลักสูตร ไม่ได้ประเมินเรื่องบริการวิชาการ ดังนั้นแสดงว่าหลักสูตรไม่ต้องคำนึงถึงการจัดโครงการบริการใช่หรือไม่ (เป็นงานในระดับคณะ)
คำตอบ ใช่ เพราะถ้าประเมินบริการวิชาการหลักสูตรจะหนักมากเกินไป แต่อาจารย์ประจำหลักสูตรก็สามารถให้บริการวิชาการได้ โดยผลงานจะไปนำเสนอในระดับคณะ (ในหลักสูตรมีเรื่องบูรณาการพันธกิจอื่นกับการเรียนการสอน ซึ่งหมายถึง บูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนด้วย อยู่ในตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ซึ่งควรเชื่อมกับระดับคณะ ตัวบ่งชี้ 3.1 เกณฑ์ข้อ 2 (ประโยชน์กับนักศึกษา)
.ในการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาใช้แบบสอบถามให้นักศึกษาประเมินตนเองได้หรือไม่ โดยนำข้อคำถามมาจากผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ใน มคอ.3 ทั้ง 5 ด้าน
คำตอบ ก็เป็นวิธีหนึ่ง ข้อควรระวังก็คือนักศึกษาประเมินตนเองจะเป็นความเห็น / ความรู้สึก แต่อาจไม่ได้เรียนรู้จริง
ตัวบ่งชี้นี้ ไม่จำเป็นต้องมีผลงานทางวิชาการจากคณะ/หน่วยงาน ในทุกรูปแบบใช่หรือไม่ อาจมีเพียงผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับต่าง ๆ เนื่องจากผลงานทางวิชาการรับใช้สังคมที่ผ่านการประเมินตำแหน่งทางวิชาการแล้ว จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ของงานบริหารงานบุคคล กองการเจ้าหน้าที่ ใน ม.อ. (ประมาณ 1 ปี แล้ว และเมื่อ 14/01/2558) ได้ความว่า
ยังไม่มีนักวิจัยคนใดได้ตำแหน่งทางวิชาการโดยใช้ผลงานทางวิชาการรับใช้สังคมเลย
คำตอบ ไม่จำเป็นต้องมีทุกรูปแบบ
นโยบาย/ทิศทางของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมให้นักวิจัยทำผลงานทางวิชาการรับใช้สังคม ที่ชัดเจนเป็นอย่างไร ผู้บริหารจะหารือกันแบบบูรณาการหรือไม่ (ผู้บริหารทุกส่วนทั้ง QA การศึกษา วิจัย และ บริการวิชาการ เป็นต้น) เพื่อแจ้งแนวทางต่อประชาคม ม.อ.
คำตอบ รองอธิการบดี/หน่วยงานที่รับผิดชอบ เรื่อง การพัฒนาอาจารย์ให้ได้ตำแหน่งทางวิชาการ น่าจะเป็นต้นเรื่องในการพิจารณาขับเคลื่อนประเด็นนี้