สำนักงานประกันคุณภาพพัฒนาระบบและกลไกประกันคุณภาพ โดยอาศัยหลักการประกันคุณภาพและตามระบบประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย คือการขับเคลื่อนงานหลักทุกอย่างด้วยวงจรคุณภาพ PDCA-PaR ส่วนงานหลักของสำนักฯ นั้นได้ถูกกำหนดขึ้นตามภารกิจการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยส่วนหนึ่ง และด้วยภารกิจการบริหารจัดการสำนักฯ ส่วนหนึ่ง

หลักการคุณภาพ
  สำนักงานประกันคุณภาพนำหลักการคุณภาพต่อไปนี้คงไว้เป็นแนวทางหลักในการพัฒนาระบบและกลไกประกันคุณภาพภายในของสำนักงานฯ และรวมถึงใช้เป็นแนวทางแก้ไขจุดอ่อนและแนวทางส่งเสริมจุดแข็งของการดำเนิน งานอีกด้วย
  1. ความมุ่งมั่นและการสนับสนุนของผู้ บริหาร(Management Commitment) โดยผู้บริหารกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และแนวทางการประกันคุณภาพขององค์กร เพื่อแสดงทิศทางและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
  2. ยึดผู้รับบริการเป็นสำคัญ (Customer Focus) การดำเนินงานทุกอย่าง ต้องกระทำโดยยึดทั้งผู้รับบริการภายในและภายนอกเป็นสำคัญ
  3. ความตระหนักต่อการพัฒนาคุณภาพและการมีส่วนร่วมของบุคลากร (Quality Awareness and Participation) บุคลากรเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันระบบประกันคุณภาพ จึงต้องพัฒนาให้บุคลากรส่วนใหญ่หรือทั้งหมดตระหนักถึงความจำเป็นในการประกันคุณภาพอันส่งผลต่อความมุ่งมั่นและการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง
  4. ขจัดความเสี่ยงและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Risk Management and Continuous Quality Improvement ) ขจัดความเสี่ยง แก้ไขความผิดพลาดและพัฒนากระบวนการทำงานด้วยวงจรคุณภาพ PDCA-PaR ของทุกภารกิจอย่างต่อเนื่อง และเคร่งครัด
  5. พัฒนาบุคลากร (Training) ให้สามารถปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ จัดหลักสูตรหรือโครงการพัฒนาบุคลากรให้บุคลากรมีความรู้เรื่องการพัฒนา คุณภาพเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น
  6. ใช้เครื่องมือคุณภาพ การวิจัย และเทคโนโลยีมาสนับสนุนการดำเนินงาน (Quality Tools,Research and Technology) เครื่องมือคุณภาพช่วยให้ผู้ปฏิบัติตัดสินใจได้จากข้อมูล (Data) ที่ได้แปลเป็นข่าวสารแล้ว (Information) และใช้เทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวกความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน รวมถึงมีการวิจัยเพื่อติดตามการพัฒนาคุณภาพ และเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อไปในอนาคต
  7. มีมาตรฐาน หรือตัวบ่งชี้คุณภาพ (Quality Criteria) กำหนดดัชนี/ตัวบ่งชี้ที่ระบุว่างานที่กำลังดำเนินการอยู่มีคุณภาพทั้งเชิงโครงสร้าง ตัวป้อนเข้า กระบวนการ ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ โดยกำหนดให้ระบบประกันคุณภาพภายในครอบระบบประกันคุณภาพภายนอกไว้
  8. โปร่งใส ตรวจสอบได้ ผู้รับบริการพอใจ สังคมพอใจ (Transparency, Accountability and Satisfaction) ต้องโปร่งใส มีหลักฐานที่ตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นหลักฐานที่เป็นเอกสาร สิ่งแวดล้อม หรือบุคคลก็ได้ (ไม่จำเป็นต้องเฉพาะเอกสารเท่านั้น)
  9. ประโยชน์ สูงประหยัดสุด (Cost Effectiveness) การดำเนินงานทุกอย่างต้อง มุ่งจัดการให้ใช้ทรัพยากร คน เงิน และ เวลา รวมถึงอารมณ์ให้น้อยที่สุด แต่เกิดประโยชน์สูงสุด โดยภาพรวมขององค์กรนั้นๆ
  10. ขจัดความกลัวให้หมดไป (Drive Out of Fear) ความกังวล ความกลัวจากการพัฒนาระบบประกันคุณภาพเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา และการดำเนินงาน จึงต้องขจัดให้หมดไปด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ให้บุคลากรมีความรู้หรือค่อยๆ ปฏิบัติแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือมีหน่วยงานนำร่องเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับหน่วยงานอื่นต่อไป เป็นต้น
  11. มีการสร้างทายาท (Substitute Leadership) การดำเนินงานคุณภาพต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) การสร้างทายาทโดยมีผู้แทนที่จะรับช่วงงานต่อทำให้ระบบมีการพัฒนาอย่างต่อ เนื่องไม่สะดุด สู่การพัฒนายั่งยืน (Sustainable Quality)

ระบบคุณภาพ
   ระบบประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พัฒนาขึ้นด้วยเงื่อนไขของเวลาและบริบทของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนา ส่วนประกอบของระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
  1. นโยบาย เป้าหมาย และแผนปฏิบัติการคุณภาพ
  2. ผู้รับผิดชอบ
  3. ตัวบ่งชี้คุณภาพ โดยยึด 9 องค์ประกอบตามสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และอีก 2 องค์ประกอบที่บริบทมหาวิทยาลัย รวมแล้วเป็น 11 องค์ประกอบ
  4. การพัฒนาบุคลากรด้านคุณภาพเพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณภาพ และสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการพัฒนามาใช้พัฒนาตนเองและงานได้
  5. การประเมินคุณภาพภายใน
    ( 5.1 ) การจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (SAR:Self Assessment Report) ซึ่งต้องจัดทำทุกปี โดยยึดว่าองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการเงิน งบประมาณ รายงานเป็นปีงบประมาณ ซึ่งใช้ปีงบประมาณปีเดียวกับปีการศึกษา (1 ต.ค. 25xx-1 – 30 ก.ย. 25xx) ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ รายงานเป็นปีการศึกษา (1 มิ.ย. 25xx – 31 พ.ค. 25xx+1)
    ( 5.2 ) การประเมินคุณภาพภายใน
    ( 5.3 ) การนำผลการประเมินคุณภาพภายในเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานให้ดีขึ้น
  6. การประเมินคุณภาพภายนอก ระบบประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประกอบด้วยระบบประกันคุณภาพภายในและระบบประกันคุณภาพภายนอก โดยให้ระบบประกันคุณภาพภายนอกเป็นส่วนหนึ่งของระบบประกันคุณภาพภายใน

Copyright ©2019 : Center of Quality Management: Prince of Songkla University
0 7428 2940-3 psu-qao@group.psu.ac.th ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพองค์กร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์